22 มกราคม 2556

วันสำคัญทางสาสนา



วันอาสาฬหบูชา

วัฒนธรรมและประเพณีไทย



การไหว้


วิชาชีพครูอาจารย์


ความเป็นครู

วิชาชีพครูอาจารย์ เป็นวิชาชีพหนึ่งซึ่งเน้นความสำคัญของจริยธรรมในวิชาชีพไว้เป็นอย่างมาก ในกรณีนี้ได้มีการแบ่งไว้อย่างชัดเจน ระหว่าจริยธรรมในวิชาชีพครูในโรงเรียน และจริยธรรมในวิชาชีพอาจารย์ในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม หลักจริยธรรมที่ได้กำหนดไว้นั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ ดังนี้ จริยธรรมครู คุณลักษณะ ๑. มีความเมตตากรุณา พฤติกรรมหลัก ๑.๑ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานและสังคม พฤติกรรมบ่งชี้ ๑.๑.๑ ไม่นิ่งดูดาย และเต็มใจช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังความสามารถ พฤติกรรมหลัก ๑.๒ มีความสนใจและห่วงใยในการเรียน และความประพฤติของผู้เรียน พฤติกรรมบ่งชี้ ๑.๒.๑ แนะนำเอาใจใส่ ช่วยเหลือเด็ก และเพื่อนร่วมงานให้ได้รับความสุขและพ้นทุกข์ ๑.๒.๒ เป็นกันเองกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สึกเปิดเผย ไว้วางใจ และเป็นที่พึ่งของผู้เรียนได้ คุณลักษณะ ๒. มีความยุติธรรม พฤติกรรมหลัก ๒.๑ มีความเป็นธรรมต่อนักเรียน พฤติกรรมบ่งชี้ ๒.๑.๑ เอาใจใส่ และปฏิบัติต่อผู้เรียน และเพื่อนร่วมงานทุกคนอย่างเสมอภาค และไม่ลำเอียง พฤติกรรมหลัก ๒.๒ มีความเป็นกลาง พฤติกรรมบ่งชี้ ๒.๒.๑ ยินดีช่วยเหลือผู้เรียน ผู้ร่วมงาน และผู้บริหาร โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง คุณลักษณะ ๓. มีความรัก และศรัทธาในวิชาชีพครู พฤติกรรมหลัก ๓.๑ เห็นความสำคัญของวิชาชีพครู พฤติกรรมบ่งชี้ ๓.๑.๑ สนับสนุนการดำเนินงาน ขององค์กรวิชาชีพครู ๓.๑.๒ เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาชีพครู ๓.๑.๓ ร่วมมือ และส่งเสริมให้มีการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู พฤติกรรมหลัก ๓.๒ รักษาชื่อเสียงวิชาชีพครู พฤติกรรมบ่งชี้ ๓.๒.๑ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดี และเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ๓.๒.๒ รักษาความสามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน ๓.๒.๓ ปกป้อง และสร้างความเข้าใจอันดีต่อสังคม เกี่ยวกับวิชาชีพครู พฤติกรรมหลัก ๓.๓ เกิดความสำนึก และตระหนักที่จะเป็นครูที่ดี พฤติกรรมบ่งชี้ ๓.๓.๑ ปฏิบัติตนให้เหมาะสม ที่เป็นปูชนียบุคคล จริยธรรมของอาจารย์ที่ปรึกษา ๑. รักษาความลับของศิษย์อย่างเคร่งครัด ๒. พิทักษ์และปกป้องผลประโยชน์ของศิษย์ ๓. อุทิศเวลาเพื่องานอาจารย์ที่ปรึกษา ๔. ให้การช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ หลักการของอาจารย์ที่ปรึกษา ๑. อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องช่วยให้งานอุดมศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ คือการสร้างบัณฑิตที่เป็นคนที่สมบูรณ์ ๒. อาจารย์ที่ปรึกษาจะช่วยพัฒนาความพร้อมทางสติปัญญา ให้ใฝ่รู้ และวิธีการแสวงหาความรู้ ๓. ช่วยให้นิสิตประสบความสำเร็จ และมีชีวิตสมบูรณ์อยู่ในมหาวิทยาลัย ๔. ช่วยให้นิสิตเข้าใจตนเอง รู้จักตนเอง รู้จักรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ๕. พัฒนาทัศนคติ จริยธรรม และศิลปวัฒนธรรมให้แก่นิสิต จริยธรรมอาจารย์ ๑. อาจารย์พึงวางตนให้เป็นผู้ควรแก่การยกย่อง เป็นผู้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์ ๒. อาจารย์ควรเป็นผู้มีเหตุผล พึ่งเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น และไม่พึงบังคับไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ให้ผู้อื่นมีความคิดเห็นคล้อยตามตน ๓. อาจารย์ไม่พึงปฏิบัติต่อผู้ใดอย่างมีอคติ โดยอาศัยเหตุผลทางเชื้อชาติ ศาสนา หรือลัทธิความเชื่อ ๔. อาจารย์ไม่พึงเรียก รับ หรือยอมจะรับประโยชน์ใด ๆ ซึ่งชักนำ หรืออาจจชักนำไปให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนไม่สุจริตเที่ยงธรรม หรือให้ หรือรับว่าจะให้ ซึ่งประโยชน์ที่ตนสามารถจะให้ได้ในอำนาจหน้าที่ของตน เพื่อแลกเปลี่ยนกับประโยชน์อันไม่ควรให้ ๕. อาจารย์พึ่งมีความรอบรู้ทางวิชาการ พึ่งเตรียมการสอน และเข้าสอนโดยสม่ำเสมอตามกำหนด ในการสอนนั้นจะต้องไม่จงใจปิดบังอำพราง หรือปิดเบือนเนื้อหาสาระทางวิชาการ นอกจากนั้น อาจารย์พึ่งตั้งใจค้นคว้าหาความรู้ในสาขาวิชาของตนมาให้แก่ศิษย์ และพึงสนับสนุนให้ศิษย์มีความก้าวหน้าทางวิชาการอยู่เสมอ นอกจากจะต้องสอนศิษย์ให้เป็นคนที่เก่ง และดีแล้ว ตัวครูอาจารย์เองก็จะต้องเก่งและดีด้วย ซึ่งนับว่าเป็นภาระกิจหลักที่สำคัญและยากลำบากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นความเป็นคนดีนั้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เป็นเรื่องที่ยากยิ่งที่จะสอนคนให้เป็นคนดี โดยที่ครูอาจารย์ ซึ่งเปรียบประดุจ “เเม่พิมพ์" ของชาติสมควรจะต้องเป็นคนดีด้วย


แหล่งที่มา